วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Continuous Qulity Improving

R2R is Learning in the 21st Century (ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช)
(คำบรรยายในการประชุม R2R 12 กรกฎาคม 2555)

ยินดี ที่ได้เห็นการรวมตัวกันในหน่วยงานและข้ามหน่วยงานเป็นเครือข่าย  การประชุมสามวันนี้เป็นการประชุมเพื่อให้แต่ละเครือข่ายได้มาเสนอผลงาน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันข้ามเครือข่าย ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีคุณค่าอย่างไร น่าจะไปทำอย่างไรเพื่อให้หน่วยงานและประเทศไทยได้รับประโยชน์มากขึ้น
คณะ กรรมการให้ผมมาตีความ R2R ในฐานะเครื่องมือเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง ในลักษณะที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมๆ  ที่จะนำเสนอนี้นำมาจากข้อสังเกตในที่ต่างๆ การสังเกตกิจกรรม R2R  แล้วนำมาตีความต่อ โดยมีเคล็ดลับว่าไม่ต้องกังวลว่าจะถูกหรือผิด  ก็ไม่รับรองว่าจะถูกหรือผิดเพราะเราพยายามใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำ งานชิ้นนี้ เหมือนกับที่ท่านทำ R2R  เรากล้าที่จะลงมือทำเพราะไม่ยึดความถูกหรือผิดเป็นสำคัญ  เรายึดเรื่องที่จะพัฒนางาน เรียนรู้ และพัฒนาตัวเองเป็นสำคัญ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องเลยไปจากการเรียนรู้ในตัวเนื้อความรู้ คือรู้เพื่อรู้จะไม่พอ ต้องรู้เพื่อทำ การทำได้คือการมีทักษะ การเรียนรู้ในยุคใหม่เป็นการเรียนรู้เพื่อมีทักษะชุดหนึ่ง เรียกว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นทักษะที่คนทุกคน ทุกอายุจะต้องมี ต้องเตรียมฝึก ไม่ใช่การเรียนแบบการอ่าน ฟัง  ต้องเรียนด้วยการลงมือทำ  (learning by doing) เช่นเดียวกับ R2R เป็นการเรียนรู้โดยการลงมือทำ  การเรียนรู้อย่างนี้เราอาจจะเรียนรู้จากที่อื่นที่เขาทำได้ดี อาจจะดูจากโปสเตอร์ แต่ถึงจุดที่จะลงมือทำ เราต้องสร้างความรู้เองขึ้นมา จะมากน้อยไม่สำคัญ อาจจะ 0.1% ก็ได้ อย่างน้อยมีการปรับตัวความรู้ที่คนอื่นใช้ให้เข้ากับสภาพปัจจุบันของเรา
การ เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ขึ้นใช้เอง (constructivism)  นั้นเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการเรียนรู้สมัยใหม่ เกิดขึ้นที่ MIT มีการนำมาใช้ในประเทศไทยเมื่อสิบกว่าปีมานี้ เป็นการรู้ลึก รู้จริง รู้เชื่อมโยง แล้วเอามาใช้ได้  คนที่รู้แบบนกแก้วนกขุนทอง ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง ไม่ทรงคุณค่า  การเรียนรู้แบบที่เรามักจะคุ้นเคยมักจะได้มาจากการสอนหรือการฝึกโดยคนอื่น (training or teaching) ซึ่งเป็นคนละตัวกับ learning  การสอนนั้นคนอื่นมาบอกเรา การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นในตัวเราเอง  เมื่อไรก็ตามมีการฝึกแบบ learning จะเป็นการฝึกโดยการลงมือทำด้วยตัวเราเอง
การเรียนรู้ยุคใหม่เกิดขึ้นในตัวเราเอง ยึดหลัก “อัตตาหิ อัตโน นาโถ” เราต้องเป็นผู้เรียนรู้ ไม่ใช่มีใครมาเรียนรู้แทนกัน เราต้องเป็นผู้ลงมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  การเรียนรู้ที่ดีต้องเรียนเป็นทีม (team learning) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ คนที่เป็นบุคคลสำคัญคือกัลยาณมิตร ซึ่งอาจจะหมายถึง facilitator, เพื่อนร่วมงาน, ผู้บริหารที่เป็นกองเชียร์ ช่วยชี้แนะว่ามันกำลังเกิดผลอย่างไร น่าจะลองอะไร  ต้องมี สัปปายะ ความสบายๆ มีความสำคัญ มีอิสระที่จะให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ กล้าที่จะทดลอง ทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
Learning Pyramid
ข้อ สรุปจากผลงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าวิธีการเรียนรู้ที่ใช้กันอยู่ใน ปัจจุบัน ได้แก่ ฟังบรรยาย, อ่านหนังสือ, ใช้ audiovisual, demonstration ให้ retention rate ต่ำที่สุด  เป็นการเรียนรู้ที่เรียกว่า outside-in เราไม่ได้ทิ้ง แต่ให้เรียนรู้ในวิธีการที่อยู่ในสามชั้นล่างของ learning pyramid ให้มากขึ้น
การเรียนรู้ที่อยู่ในด้านล่างของปิรามิด คือ teach other/immediate use, practice by doing, discussion group เป็นการเรียนรู้แบบ constructivism เป็นการสร้างความรู้ขึ้นเอง  เรียกว่าเป็นการเรียนรู้แบบ inside-out learning เป็นวิธีที่งอกงามมาจากหัวใจของเรา ไม่ได้ใช้เฉพาะความคิดเชิงเหตุผลเท่านั้น แต่ใช้ใจด้วย  ท่านสังเกตไหมว่าการทำงาน R2R นั้นท่านใช้ใจด้วย เป็นการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ เพราะสภาพจิตใจที่ดีงามเป็นสภาพจิตใตของความเป็นมนุษย์
การเรียนรู้ ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้แบบนำความรู้มาใช้ทันที (immediate use) เมื่อใช้เราก็เกิดประสบการณ์ในความรู้นั้น  ความรู้ที่ไม่ค่อยชัดเจน เป็นความรู้ที่แต่ละคนก็ตีความตามแบบของตน  เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็จะเกิดความชัดเจนขึ้น
ลองนึก ภาพกลับไปตอนที่ทำกิจกรรม R2R ว่ามันตรงกันไหม  ตอนที่เราตั้งข้อสังเกตจากประสบการณ์ของเรา หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน อาจจะมีการนำทฤษฎีมาตีความว่ามันตรงกันหรือไม่ ก็จะยกระดับความรู้เพื่อการใช้งานขึ้นไป เป็น knowledge spiral เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ  ทั้งหมดนี้จะเป็นการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว นี่คือหัวใจ
การเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว
การ เรียนรู้ส่วนใหญ่ในชีวิตมนุษย์เป็นการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว  ใครที่อยากเห็น ให้ไปสังเกตเด็กเล็กๆ โปรดใช้ลูกเป็นครู  เพื่อสังเกตว่าเด็กเล็กๆ เรียนรู้อย่างไร  เขาไม่เข้าใจคำว่าเรียนรู้  แต่ธรรมชาติของมนุษย์ต้องเรียนรู้ เขาก็เรียนรู้ตามแบบของเขา  การเรียนรู้ที่มีคุณค่าที่สุดคือการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว  ลงมือปฏิบัติแล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตีความ
เราต้องหาทางฝึกตัวเรา เอง และฝึกซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีพลังของการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว  ถามว่าทำอย่างไร ผมก็กำลังเรียนบทเรียนนี้อยู่
การเรียนรู้แบบไม่รู้ ตัวนั้น ก็ยังต้องการการที่เรามีสมาธิ จดจ่อ จิตโพกัส พุ่งเป้าไปที่เรื่องที่เรากำลังทำ  ใครอยากเรียนเรื่องนี้ให้ลึกซึ้งมีครูที่เก่งมากนั่งอยู่ข้างหน้า “ท่านอุบาสิกา กะปุ๋ม”
โลกปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยตัวป่วน มีเรื่องเข้ามามากมายไม่จบสิ้น โทรศัพท์ โทรทัศน์ ใครที่ไม่สามารถอยู่กับสิ่งที่มันเย้ายวนทั้งหลายโดยไม่ถูกพิษของสิ่งเย้า ยวน  เหมือนลิ้นงูอยู่ในปากงู เพราะอยู่อย่างเป็นธรรมชาติ รู้วิธีที่จะอยู่กับโลกที่วุ่นวาย ยุ่ง เย้ายวน  เราต้องมีจิตสงบ มีสมาธิกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เราต้องมีวิธีการฝึกตัวเองให้มีจิตจดจ่อ หรือมีสมาธิ อยู่กับปัจจุบันให้ได้
คนที่ทำ R2R จะรู้ด้วยตัวเองว่ากระบวนการ R2R นั่นแหละคือตัวช่วย  ทำให้จิตใจอยู่กับเป้าอันนั้น ที่จะพัฒนางานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จิตใจจดจ่อร่วมกัน จดจ่อผ่านการลงมือทำ ยิ่งเป็น concentration  การมีทีม มีเป้าหมายร่วม มีจิตใจที่ยิ่งใหญ่ อาจจะเป็นเรื่องที่เล็กๆ  R2R ทำให้เกิดจิตจดจ่อ เกิดง่าย เกิดโดยไม่ต้องฝืน โดยเราไม่ต้องวุ่นวายกับหลายๆ เรื่องที่ไม่จำเป็น เราก็ลงมือทำในเรื่องที่มีคุณค่าร่วมกัน
โลกในศตวรรษที่ 21 นั้นมีคุณค่าอย่างยิ่ง ให้ความสะดวกสบายกับชีวิตเรา  ถ้าผมเกิดก่อนหน้านี้ 50 ปี จะทำให้ขาดโอกาสที่จะ enjoy life มากกมาย  ถ้าเกิดในสมัยอยุธยาต้องอายุสั้นเพราะถูกเขาฆ่าตายแน่นอน แต่โลกในศตวรรณที่ 21 มันเป็นโทษเช่นเดียวกัน อาจจะทำให้เราฟุ้ง ไปหมกมุ่นอยู่กับบางเรื่อง  เราต้องฝึกที่จะไม่วุ่นไปตามโลก แต่ทำตัวให้เป็นประโยชน์
เมื่อเราจิต ใจจดจ่ออย่างนั้น มันเกิดความปิติยินดี เกิดปิติสุขจากความสำเร็จที่เราได้ทำ ปิติสุขนั้นอาจจะเกิดจากที่เราได้ทำหรือเพื่อนทำ ท่านมาสามวันนี้ได้เห็นเรื่องราวจากความสำเร็จของคนอื่นเยอะเลย  ทำให้เกิดปิติสุขจากการได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่น การได้เรียนรู้ ตัวเองก็ได้พัฒนาเติบโตขึ้น  แต่ R2R พิเศษกว่าปิติสุขอื่นๆ ตรงที่เป็นปิติสุขของผู้ลงมือทำ เป็นผลงานของการเป็นผู้สร้าง  อย่าลืมว่าหลายครั้งเราได้ปิติสุขจากการเสพ  ใครที่ในชีวิตฝึกตัวเองมาดี จนพลังของปิติสุขของการเป็นผู้สร้างมีพลังสูง และยกระดับขึ้นเรื่อย  นั่นคือคนที่มีทักษะในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ชีวิตที่มีความหมาย
พอ จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องการชีวิตที่มีความหมาย ที่เราเป็นคนกำหนด R2R เป็นกิจกรรมที่เรากำหนดเป้าหมายของเราเอง  ความยากของโลกในศตวรรษที่ 21 ก็คือในสังคมมีสิ่งต่างๆ ที่ทั้งดี ดีจริงๆ ดีบริสุทธิ์  ดีเกือบจริง ดีชั่วแล่น (อบายมุขทั้งหลาย ดีเดี๋ยวเดียวแต่ตามมาด้วยความทุกข์หรือความเสื่อมในระยะยาว)  เราต้องการการเรียนรู้ชุดหนึ่งเพื่อไม่ให้เราหลุดไปในทางนั้น แต่สามารถเดินไปข้างหน้าเพื่อให้ชีวิตของเราดี มีความสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
R2R คือเครื่องมือชิ้นหนึ่งเพื่อให้คนมีชีวิตอยู่ในโลกยุคปัจจุบันได้โดยไม่ เพลี่ยงพล้ำไปในทางเสื่อม และทำไม่ยาก เพราะมีตัวช่วย มันเป็นการร่วมกันทำ  ประเทศไทยโชคดีที่มีการคิดขึ้น ลองขึ้น ที่ศิริราช แล้วขยายไปทั่วประเทศ  เราพยายามตีความทำความเข้าใจคุณค่าของสิ่งที่เรากำลังทำมากขึ้นเรื่อยๆ
ใน ที่ทำงานของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นงานแบบไหน  ไม่จำกัดเฉพาะคนทำงานด้านสุขภาพเท่านั้น  กิจกรรมทำกอย่างในชีวิตสามารถทำให้เป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าในชีวิตได้ทั้ง สิ้น  เราช่วยกันทำให้เป้าหมายนั้นชัด เชื่อมโยงกับ vision & mission ขององค์กร แล้วทำให้เกิดมีพลัง มีคุณค่า  ท่านคงเห็นว่ามันมีคุณค่าทั้งในเชิงรูปธรรม (KPI) และคุณค่าเชิงนามธรรม เช่น เรื่องของการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ท่านสามารถไปตีความขยายได้อีกมาก
สภาพที่เราได้เห็นก็คือเรามีเป้า หมายที่ชัด เรามาช่วยกันตีความและปฏิบัติ ในการปฏิบัติก็สร้างวิธีการขึ้นใหม่ แล้วเรียนรู้ เกิดความสุข ความสำเร็จ มีการแบ่งปันข้อเรียนรู้ทั้งหลาย ยิ่งแบ่งปันก็ยิ่งมีความสุข กระบวนการทั้งหมดคือสิ่งที่เราคุ้นเคย
กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เป็นวัฏจักรหมุนเวียน  เราสามารถหยิบเป้าหมายเดิมมายกระดับขึ้นไปอีก  ทำข้ามหน่วยงาน ข้ามองค์กร  เราได้เห็นใน 36 โครงการที่ได้รับรางวัล เราได้เห็นว่าหลายผลงานทำข้ามองค์กรออกไปนอกโรงพยาบาล เข้าไปสู่ชุมชน  จะเห็นว่าเราสามารถทำต่อเนื่องได้ไม่สิ้นสุด
ไตรยางค์แห่ง R2R
ไตรยางค์แห่ง R2R ได้แก่ 1) การพัฒนางาน 2) การเรียนรู้ 3) มิตรไมตรี/ความชื่นชม
R2R เป็นเป้าหมาย เป็นพลังในตัวเอง เป็นวงจรไม่รู้จบ  ทำไม่ยาก ทำโดยไม่ต้องเข้าใจสิ่งที่บอกเลยก็ได้
เริ่ม ง่ายๆ ด้วยการตั้งเป้า ตีความหมายของเป้าให้มันมีคุณค่าจนเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำ  เมื่อมีเป้าหมายชัดแล้วอย่าเริ่มจากศูนย์ ให้พยายามสืบเสาะว่าเป้าอย่างนี้ ที่ไหนเขาทำได้ดี แล้วไปขอเรียนรู้จากเข้า โดยวิธีการที่เรียกว่า peer assist  ซึ่งไม่ใช่การดูงานแบบที่เราคุ้นเคย ไม่ได้ให้ที่เขาทำได้ดีบอกเราว่าเขาทำอย่างไร  แต่เราไปบอกเขาว่าเรามีเป้าหมายอย่างนี้ เราสืบมาแล้วว่าคุณทำเก่งมาก เราจึงขอมาเรียนรู้จากท่าน โดยเราจะทำอย่างนี้ โปรดช่วยแนะนำด้วยว่าที่จะทำแบบนี้มันจะได้ผลแต่ไหน  ผู้ทำ presentation คือผู้ดูงาน ไม่ใช่ผู้ที่ทำได้ดี  หลายครั้งเขาจะบอกว่าแบบนี้อย่าทำ เพราะเขาทำมาแล้วไม่สำเร็จ  เราจะทุ่นแรงไม่ต้องไปเสียเวลากับการลองผิด  กลับมาแล้วอย่าไปทำเหมือนเขา เราต้องมาปรับอีกที เพราะสภาพแวดล้อมของเรากับของเขาไม่เหมือันกัน  เราอาจจะใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันเขามาช่วยทำให้ง่ายขึ้นมาก แต่ต้องมีวิธีการเรียนรู้ที่แยบยล
ทำแล้วไม่ใช่ทำเฉยๆ  ต้องไปสู่การวิจัยด้วย หาวิธีเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ตั้งโจทย์วิจัยให้ชัด คม มุ่งเป้า มีการตรวจสอบทฤษฎี มีการใช้ methodology เก็บข้อมูล อาจจะต้องทำหลายรอบ
สภาพเช่นนี้เราจะได้สองเป้าในเวลาเดียวกัน คือ 1) พัฒนางาน 2) ตอบโจทย์วิจัย  และยังได้ของแถมคือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  แต่ไม่ได้หยุดอยู่แค่สามเป้านั้น ท่านกลับไปเก็บข้อมูลให้ดีๆ ทำให้เป็นระบบ สามารถเก็บข้อมูลได้  advisor ที่เก่งที่สุดคือคุณหมอโกมาตร มาพูดเมื่อวานซืน ทุกส่วนมันเป็นวิจัยซ้อนวิจัยได้ มันทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากมาย
แต้มันยังมีเป้าที่สี่ที่มีคุณค่า ยิ่งคือการได้มีชีวิตที่มีความหมาย ได้ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น แก่องค์กร ได้ฝึกชีวิตของการเป็นผู้ให้  ในกระบวนการ give นั้นเราได้ยกระดับจิตใจของเราด้วย
แล้วเป้าที่ห้าก็ตามมา คือการเรียนรู้ ได้ฝึกทักษะการเรียนรู้และทักษะอื่นๆ  การนำ การเปลี่ยนแปลง เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในทักษะการเรียนรู้และความเป็นตัวตนของเรา (transformation) เปลี่ยนจากการเรียนรู้จากยอดปิรามิดมาเป็นการเรียนจากฐานปิรามิด  คนที่เกิด transformation ก็คือบุคคลเรียนรู้ (learning person)
ผลสุดท้ายคือความมั่นคงในชีวิตเป็นเป้าที่หก
สัจ จธรรมแห่งศตวรรษที่ 21 คือการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนด้วยอัตราเร็วที่เพิ่มขึ้นและไม่แน่นอน ความมั่นคงไม่ได้มาจากระบบ จากคนอื่น แต่มาจากตัวเราเอง ความสามารถในการเรียนรู้แลปรับตัว (resilience) เป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่ไม่แน่นอน
เรียนรู้โดยการขยาย “ไตรภูมิ”
Danial T. Willingham เป็นผู้เขียนหนังสือ Why don’t students like schools?  ในกระบวนการเรียนรู้นั้นมีพื้นที่อยู่สามพื้นที่ 1) พื้นที่แห่งปฏิบัติการ (Environment) พื้นที่แห่งกิจกรรม ดูเผินๆ อยู่นอกตัวเรา  2) Working Memory  3) Long-term Memory สามส่วนนี้จะมีปฏิสัมพันธ์กันในกระบวนการเรียนรู้  คนที่เป็น learning person จะทำให้พื้นที่ทั้งสามขยายใหญ่ขึ้น  ความคล่องตัว ความฉลาดเฉลียว เกิดกจากการขยายตัวของพื้นที่ทั้งสาม  เราจะไม่รู้ตัวว่าเกิดการขยายของพื้นที่ทั้งสาม
ที่จริงในรูปนี้มี พื้นที่ที่สี่ คือ Forgotten ไม่สามารถเข้ามาเป็นพลังในตัวเรา  อาจจะมาจากสิ่งแวลด้อม  เราไม่เห็นมัน มันไม่วิ่งไปสู่สีน้ำเงิน  ถ้าเราเรียนรู้เก่ง พื้นที่ที่สี่จะหดเล็กลงเรื่อยๆ
จะพยายามอธิบาย ว่ากลไกเป็นอย่างไร  โปรดฟังหูไว้หู  กระบวนทั้งหมดนนี้เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ พร้อมกัน  การขยายพื้นที่ทั้งสามนี้ไม่สามารถขยายได้โดยการใช้ความคิด ต้องทำโดยการลงมือปฏิบัติ  การลงมือปฏิบัติที่มีคุณค่า มีพลัง คือการร่วมกันทำ  แล้ว R2R เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ชวยให้เราเรียนแบบนี้ได้โดยไม่ต้องลงมือลงแรง
พื้นที่สีเขียว (Environment) คือพื้นที่แห่งปัจจุบันขณะ เป็น information source คนที่เรียนรู้เก่งจะสามารถดึงผ่านลูกศร (attention) ไปสู่ Working Memory ได้อย่างมีคุณภาพสูง  หลายอย่างที่เกิดขึ้นบางคนเห็นแต่บางคนไม่เห็น  บางคนไม่ช่างสังเกต บางคนช่างสังเกตบางเรื่อง  ดังนั้นการดึงเข้าสู่ Working Memory แต่ละคนจะมีความสามารถแตกต่างกัน  เมื่อไรที่กระบวนการนี้มีการแชร์กันจะพบว่า เออ อันนี้เราไม่เห็น  ผมจะเห็นเยอะว่าคนที่ทำงานคราวลูกบางคนเห็นในสิ่งที่ผมไม่เห็น แต่หลายอย่างเขาก็ไม่เห็น  ดังนั้น พลังของการที่จะทำให้พลังของปัจจุบันขณะมีคุณค่าคือการดึงเอาข้อมูลนั้นมา สู่ working memory  แต่พลังแห่งการแชร์ภายใต้สัปปายะจะช่วยเราดึงข้อมูลมาได้มากขึ้น
ปัจจุบัน ขณะมีคุณค่ามาก เราจะต้องมีวิธีช่วงชิงปัจจุบันขณะให้ได้  ทำร่วมกันจะทำง่าย การที่เราทำร่วมกันมีคุณค่าอย่างยิ่ง การรวมกลุ่มเป็นตัวดึงดูด การมีกัลยาณมิตรเป็นตัวดึงดูดทำให้เราอยู่กับปัจจุบันขณะ  เป็นปัจจุบันขณะที่มี dynamic อย่างยิ่ง
การขยายพื้นที่ปัจจุบันขณะทำ ได้สารพัด แต่เราต้องฝึกทักษะในการรับ information เหล่านั้น ด้วยผัสสะทั้งห้า  เราต้องฝึกการฟัง แต่มันต้องฟังให้ได้ยินในสิ่งที่เขาไม่ได้พูด เพราะจริงๆแล้วเรากำลังฝึกการสื่อสารและการรับสาร  การสื่อสารหลายอย่างเป็น non-verbal ไม่ได้พูด ไม่ได้เป็นเสียง แต่เป็นท่าทาง สีหน้า แววตา เราจะเห็นว่าเวลาคุยกันหลายเรื่องที่มีพลังยิ่งใหญ่  แววตาของคนสิบคนที่นั่งอยู่มันกระตุ้นซึ่งกันและกัน  มันขยายใหญ่ในเชิงคุณค่า ในเชิงพลัง  ตัวกระบวนการในพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่ที่เราต้องฝึกที่จะทำให้มันทรงพลัง ให้ได้  ทั้งหมดคือการช่างสังเกตบวกกับการเรียนรู้จากการสังเกต
ปัจจุบัน ขณะมันไม่ stand alone มันมีท่อต่อหรือ wireless ต่อกับอีกสองพื้นที่ด้วย  ถ้าเรามี Working Memory และ Long-term Memory ที่ดี มันจะช่วยให้เราไปสังเกตปัจจุบันขณะได้ดีขึ้น  ทั้งสามพื้นที่มันต่อกับแบบ real time
ขยายพื้นที่ปัจจุบันขณะ โดยฝึกสมาธิในการทำงาน/กิจกรรม ฝึกสนใจต่อเนื่อง มีความไตร่ตรอง ฝึกความอึด ฝึกความช่างสังเกต ฝึกการรับสารให้ได้มาก ลึก และเชื่อมโยง นั่นคือสภาพที่เรียกว่า “flow”
The power of concentration พลังจิตจดจ่อ เป้าหมายที่ทรงคุณค่า เป้าหมายร่วม ลงมือทำ ระบาดแรงบันดาลใจ คิดเชิงบวก ขจัดสิ่งกวนใจ กล้าลอง ขจัดจุดอ่อนโดยการฝึกฝน เรียนแบบไม่ลืม เทวดาช่วย
ขยายพื้นที่แห่งการคิด (Working Memory) site of awareness and of thinking คิด แบบไม่คิด เป็นอัตโนมัติ  คุณภาพยิ่งสูงเท่าไร คนนั้นก็ยิ่งเก่ง  กลุ่มใดมี collective working memory มาก ก็จะสามารถทำงานยากๆ ได้  เราอาจจะต้อง sustain หรือ maintain working memory ให้ยาวเป็นหลายวัน หลายเดือน หรือหลายปี   ขยายพื้นที่แห่งการคิดแบบไม่รู้ตัว 1) ผ่านการฝึกฝนทีละน้อย ต่อเนื่อง 2) เกิดผลโดยไม่รู้ตัว 3) โดยการเพิ่มสารจาก Environment  & Long-term Memory 4) ผลจากการปฏิบัติจะเพิ่มกำลังใจ  5) positive feedback จากกัลยาณมิตร จะช่วยให้กำลังใจ
ขยายคลังความรู้ส่วนตัว (Long-term Memory) ทำให้เป็นของส่วนรวมหรือของกลุ่มด้วย  โดย 1) ผ่านการปฏิบัติ 2) ไม่ใช่เพียงขขยายเชิงปริมาณ แต่ขยายเชิงคุณภาพด้วย 3) เป็นคลังความรู้ติดสปริงหรือ wireless 4) ไปสู่อีกสองพื้นที่และไปสู่คนอื่น
การ ขยายไตรภูมิในเวลาเดียวกัน  จะช่วยลด waste (forgotten) เคล็ดลับของการฝึกทักษะคือ ต้องทำซ้ำๆ การทำในงานประจำเอื้อให้ทำซ้ำ การทำซ้ำกลายเป็นคุณค่า ไม่ใช่น่าเบื่อ เพราะเป็นการทำซ้ำแบบไม่ซ้ำเดิม ไม่จำเจ จนพื้นที่ในไตรภูมิมีชีวิต ขยายตัวซึ่งกันและกันได้
R2R จึงเป็นการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เพราะเป็นการฝึกทักษะเชิงซ้อน โดยฝึกเป็นทีม มีกัลยาณมิตรช่วยชวนชีชมเชื่อม และร่วมทำให้ชัด  มีเป้าหมายที่ทรงคุณค่าเป็นตัวทำ ทำต่อเนื่อง ทำซ้ำแบบไม่จำเจ ยกระดับ เกิดการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว
ทักษะเชิงซ้อนมีสามกลุ่มของทักษะล้อมไป กับเนื้อวิชา 1) life & career skills 2) learning & innovation skills 3) information skills
3Rs + 7 Cs: reading, riting, rithmetics; critical thinking, creativity, collaboration, cross-cultural understanding, communication, computing & media literacy, career & learning self-reliance, change; learning & leadership
ที่ พูดทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพื่อพวกเรา ที่มีค่าที่สุดคือเด็กที่จะเป็นคนรุ่นใหม่  วิธีการเรียนรู้ที่ใช้อยู่ในสังคมไทยปัจจุบันเป็นวิธีการที่ล้าหลัง  เราต้องช่วยกันขับเคลื่อนการเรียนรู้ของเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น